วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สถาบันที่เปิดสอน

          สวัสดีครับน้อง ๆ   

                    รู้ตัวแล้วใช่มั้ยน้องๆ ว่าอยากจะเรียนคณะวิศวกรรมการบิน ทั้งน่าตื่นเต้นและท้าทายมากๆเลยครับ พี่ ก็เคยแปลกใจนะว่าทำไมทั้งๆที่ องค์ประกอบของเครื่องบินหนักซะขนาดนั้น -0- แต่ม๊าน!!!!! ยังบินอยู่บนฟ้าที่มีความสูงตั้ง! 20,000 ฟุต แหนะ ท้าทายแรงโน้มถ่วงโลกอย่างสุดขีด แล้วน้องๆหละคิดเหมือนพี่หรือป่าว 555555 ^_^ หลายๆคนก็บอกว่าอยากเรียนกัน แต่! ก็ยังไม่รู้ใช่ม้า ว่า "เอ๊...วิศวกรรมการบินมันมีที่ไหนเปิดสอนบ้างน้า.......-3-" งั้น!วันนี้!เราจะมาแนะนำที่เรียนกันนะครับ ^_^

 

>>>>>สถาบันการบินพลเรือน (ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี)
      - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (4 ปี)  (Bachelor of Engineering: วศ.บ.) สาขาวิชา
        อิเล็กทรอนิกส์การบิน (Aviation Engineering program : AEE) 
      - หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (4 ปี) (Bachelor of Technology in Aviation: ทล.บ.)    
        ประกอบด้วย 3 สาขาวิชาคือ
               > การจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management Program : ATM)
               > การจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Program : APM) 
               > การจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo Management Program : ACM)
     - หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (ภาคต่อเนื่อง 2 ปี) Bachelor of Technology in Aviation
       (ทล.บ.: Continuing Education) ประกอบด้วย 2 สาขาดังนี้ (สำหรับน้อง ๆ ปวส. อนุปริญญา
       หรือเทียบเท่า หรือปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือ จบหลักสูตรประกาศนียบัตรจากสถาบันการบิน-
       พลเรือน)
               > สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Program : APM)
               > สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo Management Program :  
                   ACM)


>>>>>มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
           คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (Department of Aerospace Engineering) ระดับปริญญาตรี เปิดสอนจำนวน 3  หลักสูตรคือ
     - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ  ( Bachelor of
        Engineering Program in Aerospace Engineering )
     - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศและบริหารธุรกิจ
       ร่วมนานาชาติ 2 ปริญญา(IDDP) ( Bachelor of Engineering Program in Aerospace
       Engineering and Business Administration (International))
     - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน ( Bachelor of
       Science Program in Aviation Technology Management )
     - ระดับปริญญาโทมี 1 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วศ.ม.) สาขาวิชา
       วิศวกรรมการบินและอวกาศ  ( Master of Engineering Program in Aerospace Engineering)




>>>>>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
           คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วศ.บ.) วิศวกรรมอากาศยาน (Bachelor of Engineering program in Aerospace Engineering (International Program))

>>>>>มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
     - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace
        Engineering) 
     - หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.) สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ
       (Aerospace Engineering)


>>>>>มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
          หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต(วศ.บ.) นานาชาติ (TU-UNSW) อยู่ใน Mechanical Engineering - Aerospace 

>>>>>มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วศ.บ.) ภาควิชาวิศวกรรมการบิน(Aeronautic Engineering) แบ่งออกเป็น 3 สาขาคือ
      - วิชาเอกนักบินผู้ช่วยเครื่องบิน Multi-crew Pilot License (MPL) 
      - วิชาเอกนักบินพาณิชย์ตรี Commercial Pilot License (CPL) 
      - วิชาเอกซ่อมบำรุงอากาศยาน Aircraft Maintenance Engineering


อ้างอิง : http://www.dek-d.com/admission/29149/

ความเป็นมาของวิศวกรรมการบิน

ประวัติ

 ที่มาของวิศวกรรมการบินและอวกาศสามารถย้อนกลับไปถึงผู้บุกเบิกการบินราวช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20, ถึงแม้ว่างานของเซอร์จอร์จ เคย์ลี จะเคยบุกเบิกไว้ก่อนแล้วในช่วงทศวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 18 ถึงกลางศตวรรษที่ 19. หนึ่งในคนที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของการบิน เคย์ลีเป็นผู้บุกเบิกคนหนึ่งในวิศวกรรมการบิน และได้รับการยกย่องว่าเป็นคนแรกที่จะแยกแรงยกและแรงลากซึ่งมีผลกระทบต่อการบินของยานพาหนะใด ๆ. ความรู้เบื้องแรกของวิศวกรรมการบินส่วนใหญ่เป็นเชิงประจักษ์กับแนวความคิดและทักษะบางอย่างที่ถูกนำเข้ามาจากสาขาอื่น ๆ ของวิศวกรรม. นักวิทยาศาสตร์เข้าใจองค์ประกอบสำคัญบางอย่างของวิศวกรรมการบินและอวกาศเช่นพลศาสตร์ของไหล (fluid dynamics), ในศตวรรษที่ 18. หลายปีต่อมาหลังจากการบินที่ประสบความสำเร็จโดยพี่น้องตระกูลไรท์, ในช่วงปี 1910s เราได้เห็นการพัฒนาของวิศวกรรมการบินผ่านการออกแบบของอากาศยานทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง.
ความหมายแรกของวิศวกรรมการบินและอวกาศปรากฏในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1958. ความหมายได้พิจารณาว่าชั้นบรรยากาศของโลกและอวกาศด้านนอกเป็นดินแดนเดียวกัน ดังนั้นจึงครอบคลุมทั้งยานบินในอากาศ (aero) และยานอวกาศ ("space") ภายใต้คำใหม่ว่า"การบินและอวกาศ". ในการตอบสนองต่อการปล่อยดาวเทียมดวงแรกของสหภาพโซเวียต, ยานสปุตนิกเข้าสู่อวกาศในวันที่ 4 ตุลาคม 1957, วิศวกรการบินและอวกาศสหรัฐได้ปล่อยดาวเทียมอเมริกันดวงแรกในวันที่ 31 มกราคม 1958. องค์การการบินและอวกาศแห่งชาติหรือนาซา (National Aeronautics and Space Administration (NASA)) ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1958 เพื่อตอบสนองต่อสงครามเย็น.
ห้วข้อนี้ต้องการขยายความด้วยประวัติศาสตร์ที่ใหม่กว่า รวมทั้งเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาเร็ว ๆ นี้ (พฤศจิกายน 2009)
ออร์วิลและวิลเบอร์ ไรท์ขณะกำลังบินด้วยเครื่องไรท์ ฟลายเออร์ในปี 1903 ที่เมืองคิตตี้ ฮอว์ก, รัฐนอร์ทแคโรไลนา

วิศวกรรมการบินและอาวกาศ

วิศวกรรมการบินและอาวกาศ


          วิศวกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace engineering) เป็นสาขาวิศวกรรมเบื้องต้นที่เกี่ยวกับการวิจัย, การออกแบบ, การพัฒนา, การสร้าง, การทดสอบ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ อากาศยาน และ อวกาศยาน แบ่งออกเป็นสองสาขาใหญ่ที่ทับซ้อนกัน ได้แก่ วิศวกรรมอากาศ (aeronautical engineering) และวิศวกรรมอวกาศ (astronautical engineering). วิศวกรรมอากาศเกี่ยวข้องกับอากาศยานที่ทำงานในชั้นบรรยากาศของโลก แต่วิศวกรรมอวกาศจะเกี่ยวข้องกับอวกาศยานที่ทำงานนอกชั้นบรรยากาศของโลก.
วิศวกรรมการบินและอวกาศเกี่ยวข้องกับการออกแบบ, การสร้าง, และการศึกษาวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังคุณสมบัติของแรงและคุณสมบัติทางกายภาพของอากาศยาน, จรวด, ยานบิน, และยานอวกาศ. สาขานี้ยังครอบคลุมถึงลักษณะทางอากาศพลศาสตร์และพฤติกรรม, ปีก airfoil, พื้นผิวการควบคุมการบิน, การยกตัว, การลากทางอากาศพลศาสตร์, และคุณสมบัติอื่น ๆ ของพวกมัน.
วิศวกรรมอากาศเป็นคำเดิมสำหรับสาขานี้. เมื่อเทคโนโลยีการบินก้วหน้าขั้นไปจนรวมถึงผู้ปฏิบัติงานในอวกาศที่อยู่ภายนอก, คำที่กว้างกว่าได้แก่ "วิศวกรรมการบินและอวกาศ" ได้เข้ามาแทนที่อย่างกว้างขวางในการใช้งานร่วมกัน. วิศวกรรมการบินและอวกาศ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาอวกาศ, มักจะถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "วิทยาศาสตร์จรวด" อย่างที่นิยมใช้กัน
อ้างอิงจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8